เมนู

คนย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้เเจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่างถือเอา
ภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ หยุดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า
บริษัทไม่มีอัครบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคน
ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้า
ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภาย
หลังต่างถือเอาภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้ไม่
มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้าใน
ปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทมีอัครบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2
จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท 2 จำพวกนี้ บริษัท
ที่มีอัครบุคคลเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อคฺควตี ได้แก่ มีบุคคลสูงสุด หรือประกอบด้วยการ
ปฏิบัติอย่างเลิศคือสูงสุด. บริษัทตรงข้ามจากบริษัทที่มีตนเลิศนั้น. ชีวิต
ที่ไม่มีคนเลิศ. บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติด้วยความมักมากด้วย
ปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น . บริษัทชื่อว่า สาถิลิกา เพราะอรรถว่า ถือ
ศาสนาย่อหย่อน. นิวรณ์ 5 เรียกว่า โอกฺกมน ในคำว่า โอกฺกมเน
ปุพฺพงฺคมา
นี้ ด้วยอรรถว่า ดำเนินต่ำลง. อธิบายว่า ภิกษุเถระเหล่านั้น
มุ่งหน้าด้วยทำนิวรณ์ 5 ให้เต็ม. บทว่า ปวิเวเก นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า
เป็นผู้ทอดธุระในวิเวก 3 อย่าง. บทว่า น วิริยํ อารภนฺติ ความว่า
ไม่ทำความเพียรทั้ง 2 อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ความว่า
เพื่อต้องการบรรลุคุณวิเศษคือฌานวิปัสสนามรรคและผลที่คนยังไม่ได้
บรรลุมาก่อน. สองบทนอกนี้ อนธิคตสฺส อธิคมาย อสจฺฉิกตสฺส
สจฺฉิกิริยาย
เป็นไวพจน์ของบท (อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา) นั้นเอง.
บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ชนผู้เป็นสัทธิวิหาริกและอันเตวสิก.
บทว่า ทิฏฺฐนุคตึ อาปชฺชติ ความว่า เมื่อกระทำความข้อที่อุปัชฌาย์
อาจารย์กระทำแล้ว ชื่อว่าประพฤติตามอาจาระของท่านเหล่านั้นที่ตนเห็น
แล้ว. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ 3

สูตรที่ 4



ว่าด้วยบริษัทที่มิใช่อริยะ และเป็นอริยะ



[290] 44. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้ 2 จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทที่มิใช่อริยะ 1 บริษัทที่เป็นอริยะ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บริษัทที่มิใช่อริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน